มูลนิธิชุมชนชาวอังกฤษในประเทศไทยเพื่อผู้ด้อยโอกาส "BCTFN"


เว็บไซต์: http://www.bctfn.org

           http://www.ploenchitfair.org/

 

ในปีพ.ศ.2511 คณะกรรมการสหราชอาณาจักรเพื่อองค์กรการกุศลไทยถูกก่อตั้งขึ้นเพื่อจัดระเบียบและใช้เพลินจิตแฟร์ ในการทำงานเพื่อการเบิกจ่ายเงิน การเพิ่มทุนที่มีต่อมาตลอดทั้งปี

 

คณะกรรมการชุมชนชาวอังกฤษในประเทศไทย (BCTFN) ประชุมรายเดือนเพื่อทบทวนข้อเสนอใหม่เพื่อขอความช่วยเหลือและประเมินความคืบหน้าของโครงการในปัจจุบัน ให้ความสำคัญกับโครงการในการช่วยเหลือตนเองอย่างยั่งยืนและการช่วยเหลือโครงการชุมชนในระยะยาว  โดยเฉพาะอย่างยิ่งสุขภาพ/การแพทย์ การศึกษา (โดยเฉพาะอย่างยิ่งร่างกาย จิตใจหรือทางสังคม ความพิการ) โครงการชุมชน และบรรเทาภัยพิบัติ  สมาชิกของคณะกรรมการจะเยี่ยมชมองค์กรการกุศล เป็นการส่วนตัว  เพื่อให้การทำงานและการใช้เงินทุนของโครงการราบรื่น

 

ติดต่อ:

591/17 ถนนสุขุมวิท

ซอยวิลล่า ระหว่างซอย 33 และ 33/1

กรุงเทพฯ 10110

 

โทรศัพท์: 02 204 1587

อีเมล์: bctfn@loxinfo.co.th

 


เพลินจิตแฟร์


เพลินจิตแฟร์ คือ อะไร

เพลินจิตแฟร์  เป็นวันหยุดพักผ่อนง่ายๆ ของกรุงเทพฯ  ซึ่งพิสูจน์ได้ว่าเป็นงานออกร้านที่ใหญ่ที่สุดในเอเซีย เป็นส่วนหนึ่งของสังคมในประเทศไทยตั้งแต่ครั้งแรกที่จัดงานขึ้นที่สถานทูตอังกฤษในปี พ.ศ.2500

 

ทุกคนมา ร่วมงานเพลินจิตแฟร์ – โดยมีรูปแบบที่เป็นงานแสดงนิทรรศการอังกฤษแบบดั้งเดิมและเป็นวันที่มีคนมาร่วมงาน เพื่อพบปะสังสรรค์กับเพื่อนฝูง ซื้อหาสินค้าราคาพิเศษอย่างเหลือเชื่อ ลิ้มลองอาหารนานาชาติรสเด็ด และเด็กๆจะหมดแรงกับความสนุกด้วยเกมส์กิจกรรมต่างๆภายในงาน นอกจากนี้ยังมีมุมพิเศษสำหรับคอทองแดง ซึ่งจัดทั้งแชมเปญและเบียร์สดเย็นฉ่ำ แม้กระทั่ง เครื่องดื่มพิมส์ (Pimms) ไว้รับรอง ทั้งยังมีวงดนตรีแสดงสดไว้สร้างความครึกครื้นตลอดทั้งงานช่วงบ่ายบนเวทีหลัก

 

จัดงานเมื่อไหร่

งานจะจัดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ http://ploenchitfair.org

 
ฉันจะพบอะไรที่งานเพลินจิตแฟร์
งานเพลินจิตแฟร์นี้จะเป็นงานสำหรับทุกคน ทั้งเกมส์ เครื่องเล่น สำหรับเด็กและผู้ใหญ่ ชิงช้าสวรรค์ บันจี้จั๊ม ลูกกลิ้งบอลน้ำ เรือปั่นมือ สไลด์ยักษ์ กอล์ฟ  เกมส์โคโคนัท ชาย, และอื่นๆอีกหลากหลาย  เวทีกลางจะมีการจัดการแสดงสด วงดนตรียอดเยี่ยมและการแสดงตลอดทั้งวัน ทั้งยังมีอาหารและเครื่องดื่มจากร้านชื่อดังต่างๆในกรุงเทพมหานครมานำเสนอ 
 
ทุกคนยังสามารถเลือกซื้อของขวัญปีใหม่ได้ก่อนใครที่ Petticoat Lane Bazaar ซึ่งจะมี 70 ร้านค้า นำเสนอของขวัญทำมือที่สวยงามนานาชนิดทั้งเสื้อผ้า ของแต่งบ้าน เครื่องประดับ หนังสือ และอีกมากมายที่คุณอยากได้   ร้านเทสโก้และร้านบูทส์ ร้านใหญ่บนถนนสายสำคัญ  มีชุดของขวัญ  ลดราคาพิเศษสำหรับคุณ

 

ทำไมถึงใช้ชื่อว่าเพลินจิต แฟร์?

ก่อนปีพศ. 2544 งานแฟร์ดังกล่าวได้ถูกจัดขึ้น ณ สวนในสถานฑูตอังกฤษ ซึ่งตั้งอยู่บนถนนเพลินจิต มากกว่า 4 ทศวรรษ และภายหลังจากที่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างสูง จึงทำให้งานนี้กลายเป็นที่รู้จักกันอย่างดีในนาม เพลินจิตแฟร์ ถึงแม้ว่าจะมีการโยกย้ายสถานที่มาหลายครั้งแล้วก็ตามที

 
ผู้ที่ไปร่วมงานมีแต่กลุ่มชุมชนชาวอังกฤษเท่านั้นใช่หรือไม่?
ไม่ใช่อย่างน่นอน! ภายในงานทุกท่านจะสามารถพบเห็นคนหลากหลายเชื้อชาติมารวมกัน ทั้งผู้จัดและผู้ที่เข้าชมงานถึงแม้ว่าเดิมทีแล้วงานแฟร์นี้จะจัดขึ้นเพื่อกลุ่มชนชาวอังกฤษ และเพื่อแสดงพลังในการทำการกุศลเพื่อประเทศที่พำนักอาศัยอยู่และเป็นการแบ่งปันความสนุกสนานแบบดั้งเดิมของอังกฤษ  แต่ปัจจุบันนี้ จะพบว่างานเพลินจิตแฟร์ได้รับการสนับสนุนจากหลายกลุ่มคน และหลายเชื้อชาติ สัญชาติ
 

ใครเป็นผู้จัดงานเพลินจิตแฟร์?

งานเพลินจิตแฟร์มีการวางแผน จัดทำ และดำเนินการโดยชุมชนชาวอังกฤษเพื่อผู้ด้อยโอกาสในประเทศไทย และอาสาสมัครกว่า 2,000 คน และยังมีองค์กรเล็กใหญ่ทั้งภาครัฐ เอกชน รวมถึงทางสถานฑูตร่วมสนับสนุนอยู่ด้วย

 
BCTFN ซึ่งใช้เป็นชื่อย่อของมูลนิธิหมายถึงอะไร
BCTFN เป็นอักษรย่อมาจาก British Community in Thailand Foundation for the Needy หรือมูลนิธิชุมชนชาวอังกฤษในประเทศไทยเพื่อผู้ด้อยโอกาส ซึ่งเริ่มก่อตั้งเป็นรูปเป็นร่างขึ้นตั้งแต่ปีพศ. 2489 โดยใช้ชื่อว่า “งานการกุศล” (Charity Fair) ไปจนถึงปีพศ. 2493 ก่อนได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการให้เป็นคณะกรรมการสหราชอาณาจักรเพื่อการกุศลในประเทศไทย (UKCTC) ภายใต้การดูแลของสถานฑูตอังกฤษ และในปี 2542 ก็ได้รับการยอมรับให้เป็นมูลนิธิเพื่อการกุศลในประเทศไทย และจะต้องเปลี่ยนชื่อให้สอดคล้องจุดประสงค์ในการก่อตั้งมูลนิธิ ตามที่ระบุไว้ในกฎหมาย
 
รายได้ท้งหมดจะถูกบริหารอย่างไร?
มูลนิธิชุมชนชาวอังกฤษในประเทศไทยเพื่อผู้ด้อยโอกาสจะทำการกระจายเงินทุนไปตามโครงการต่างๆ   โดยตั้งแต่ปี พ.ศ.2543 ปีเดียว ทางมูลนิธิได้หารายได้สมทบทุนได้ทั้งหมดกว่า 60 ล้านบาท ซึ่งได้รับประโยชน์ หลากหลายขององค์กร ในปีล่าสุดได้รับการจัดลำดับความสำคัญให้กับโครงการที่ช่วยเหลือตนเองที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชน และสามารถกลายเป็นชุมชนที่ช่วยเหลือตนเองอย่างยั่งยืน  และยังให้ความช่วยเหลือในการจัดหาสิ่งจำเป็นพื้นฐานและอุปกรณ์ในการปรับปรุงการดูแลสุขภาพ โภชนาการการศึกษา โครงการเกษตรและคนพิการทั่วประเทศ  การบริจาคไม่เคยทำในรูปของเงินสด เมื่อโครงการได้รับการอนุมัติ แผนการก่อสร้าง การประเมินและใบแจ้งหนี้อื่นๆ ซึ่งมูลนิธิชุมชนชาวอังกฤษในประเทศไทยเพื่อผู้ด้อยโอกาส จะสั่งจ่ายโดยตรงให้ผู้รับเหมาและผู้จัดจำหน่ายโดยตรง    รายละเอียดของโครงการที่อยู่บนเว็บไซต์ www.bctfn.org และ www.ploenchitfair.org
 

ในปี 2012, การบริจาคการกุศลที่ทำไป:

บ้านเด็กกำพร้าและคนชราเซนต์โยเซฟ (ST. JOSEPH'S HOME FOR THE CHILDREN AND THE ELDERLY)
โรงเรียน บ้านห้วยฮากไม้ใต้ (BAN HUAY HAK MA TAl SCHOOL)
มูลนิธิเกื้อกูลเพื่อการศึกษาไทย (SET FOUNDATION SCHOLARSHIP STUDENTS AND GRADUATE)
มูลนิธิ เดอะ กู้ด เชฟเฟิด ซิสเตอร์ (GOOD SHEPHERD SISTERS
มูลนิธิเรนโบว์แลนด์บริการชุมชน (RAINBOWLAND COMMUNITY SERVICES FOUNDATION
มูลนิธิคุณพ่อเรย์ (FATHER RAY FOUNDATION)
มูลนิธิส่งเสริมการพัฒนาบุคคล (THE HUMAN DEVELOPMENT FOUNDATION)
มูลนิธิสมเด็จย่า (THE SOMDETYA'S CHARITY FUND)
มูลนิธิสยาม แคร์ (SIAM CARE FOUNDATION)
คริสตจักรไคร้สตเชิชกรุงเทพฯ (CHRIST CHRUCH BANGKOK)

มาเซล ดับเบิลแมน (MARCEL DUBBELMAN)
มูลนิธิ เดอะ กู้ด เชฟเฟิด ซิสเตอร์ (GOOD SHEPHERD SISTERS)
มูลนิธิโครงการเพื่อชีวิต (PROJECT L.I.F.E. FOUNDATION)
บ้านเด็กกำพร้าและคนชราเซนต์โยเซฟ  (ST. JOSEPH'S HOME FOR THE CHILDREN AND THE ELDERLY)
มูลนิธิตะวันฉาย (TAWAN CHAI FOUNDATION)
มูลนิธิบ้านสบาย (BAAN SABAAY FOUNDATION)
โครงการรีจอยส์พัฒนาชุมชนเมือง (REJOICE CHARITY)

มูลนิธิเซ็นต์คามิรุส ประเทศไทย (SAINT CAMILLUS FOUNDATION OF THAILAND)
มูลนิธิคริสเตียนแคร์ (CHRISTIAN CARE FOUNDATION)
มูลนิธิดีใจ (DEEJAI FOUNDATION)
มูลนิธิ อาสาอนามัยชนบท ในพระบรมราชูปถัมภ์ (RURAL AREA MEDICAL AID FOUNDATION)
มูลนิธิคุณพ่อเรย์ (FATHER RAY FOUNDATION)
โรงเรียนบ้านอุ่นรัก (BAAN UNRAK PRIMARY SCHOOL)
มูลนิธิสร้างสรรค์เพื่อคนพิการ (FOUNDATION TO ENCOURAGE THE POTENTIAL OF DISABLED)
มูลนิธิโคมลอยเพื่อการพัฒนา (KHOM LOY DEVELOPMENT FOUNDATION)
โรงเรียนบ้านห้วยกุง (BAAN HUAY KUNG SCHOOL)

รวมเป็นเงินทั้งหมด

     บาท

 

  175,000
    52,000
  200,141
  800,000
    50,000
  268,350
  255,000
  300,000
  191,300

  200,000
  104,550
  403,230
  160,000
  175,000
  114,000
  100,000
   90,000
  240,000
    62,000
  150,000
  200,000
  158,000
  168,000
  200,000
  176,250
  239,200

5,152,021