ข่าวสารและบทสัมภาษณ์

 

เว็บไซต์หน้านี้สำรองสำหรับมูลนิธิ/องค์กรการกุศลเพื่อการประชาสัมพันธ์โครงการ และสื่อสารด้านต่างๆ

 

เรื่องราวสู่ความสำเร็จนิธิสหทัยสังคมศึกษาสงเคราะห์ ประเทศไทย "CWEFT"

ศูนย์เพื่อการศึกษาบ้านคอนคอร์เดีย อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย (LHC)

 

    เรื่องราว แชมป์ของเราจากศูนย์ นี้ นางสาว อาทิตยา ภูคำแก้ว เกิด ในปี พ.ศ.2543 (อายุ 13 ปี) เธอ มาจากชนเผ่าลาหู่ แม่ของเธอเป็นคนงานรับจ้าง ปลูกพืช และพ่อของเธอ เสียชีวิต เธอ ตกอยู่ในอันตราย จากการถูกล่อเข้าไปค้าบริการทางเพศโดยญาติของเธอ แม่ของเธอไปขายแรงงานในจังหวัดอื่น เธอพักอยู่กับญาติที่ยากจนและให้เธอร่วมการขนยาเสพติด แม่ของเธอขอให้คุณปานผู้นำคนสำคัญของมูลนิธิสหทัยสังคมศึกษาสงเคราะห์ ประเทศไทย "CWEFT" ช่วยเหลือเธอ เพราะแม่ของเธอไม่สามารถกลับบ้านมาดูแลเธอได้

 

 ตอนนี้เธอเรียนที่เกรด4, เมื่อเธอมาครั้งแรกเธอเงียบและกลัวที่จะพูด ตอนนี้เธอมีรอยยิ้มมากขึ้นและ เพลิดเพลินไปกับมิตรภาพกับเพื่อนที่หอพักและโรงเรียนประจำวัน ครอบครัว LHC ได้กลายเป็นบ้านของเธอ เธอเขียนถึงเราอย่างสม่ำเสมอเพื่อ แบ่งปันเกี่ยวกับการศึกษาและการใช้ชีวิตของเธอ CWEFT และ ศูนย์ LHC มีความตั้งใจที่จะ ทำให้เกิด ความแตกต่างในชีวิตของพวกเขา และสามารถที่จะป้องกันเด็กจากการใช้แรงงานเด็กและโสเภณี

 

หมายเหตุ: สำหรับเรื่องราวทั้งหมดของเรื่องนี้สามารถเปิดอ่านได้ที่หน้าการประเมิน

            มูลนิธิสหทัยสังคมศึกษาสงเคราะห์ ประเทศไทย


สมาคมสายใยครอบครัว และมูลนิธิสายใยครอบครัวเพื่อฟื้นคืนคนดี

สมาคมสายใยครอบครัวรับรางวัลประกาศเกียรติคุณองค์การที่มีกิจกรรมทางสังคมดีเด่น

 

วันที่21 ตุลาคม 2556- สมาคมสายใยครอบครัวรับรางวัลประกาศเกียรติคุณองค์การที่มีกิจกรรมทางสังคมดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2556 ในงานวันสังคมสงเคราะห์แห่งชาติและวันอาสาสมัครไทย ณ อิมแพค เมืองทองธานี มอบให้โดยนายกรัฐมนตรี จัดโดยกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

 


เรื่องราวสู่ความสำเร็จของมูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก "FBLC"

เขาต้องรอนานกว่า 20 ปีที่จะได้สิทธิในฐานะคนไทย

 

    จากอดีตถึงปัจจุบัน คุณเขียว (นามสมมุติ)ไม่เคยลืมครูข้างถนน จากมูลนิสร้างสรรค์เด็ก ได้ช่วเหลือเขียว  จากการเป็นเด็กข้างถนน เมื่อเขาอายุ 7 ขวบ คุณเขียวถูกขายมาให้โรงงานทำกรวยกระดาษ ไม่ได้เห็นหน้าพ่อหน้าแม่หลังจากนั้น เด็กที่ทำงานในโรงงานถูกเจ้าของโรงงานให้ทำงานเหมือนทาษ อยู่มาวันหนื่งเขาถูกเเจ้าของโรงงานตีหัวอย่างแรง จนกระทั่งต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล ตำรวจได้จับเจ้าของโรงงาน เด็ก ๆได้รับความช่วยเหลือออกจากโรงงานนรก ต่างก็แยกย้ายกลับบ้านเกิดของตนเอง แต่คุณเขียวจำทางกลับบ้านไม่ได้ จึงกลายมาเป็นเด็กเร่ร่อน อยู่ที่สะพานพุทธ

 

    ต่อมาเขาได้พบครูหน่อง และครูตี๋อดีตครูข้างถนนได้ชวนเขามาพักที่มูลนิธิสร้างสรรค์เด็กได้ประมาณ 2 ปี ต่อมาได้มีผู้ใจบุญขอคุณเขียวไปดูแลเมื่อเขาอายุประมาณ 9 ปี แต่เขาเสียสิทธิการเป็นคนไทย เช่น การเรียนหนังสือ การทำบัตรประชาชน การรักษาพยาบาล จากทางราชการ เจ้าหน้าที่งานทะเบียน จ.พิจิตร ได้บอกให้ไปติดตามหลักฐานการเกิดมาเป็นหลักฐาน

 

  เมื่อปี พ.ศ. 2552 ได้มีการสำรวจตามยุทธศาสตร์กลุ่มคนไร้รากเหง้า  ครูบุ๋มได้ส่งเอกสารที่ได้รับรองว่าคุณเขียวมาอยู่ที่มูลนิธิสร้างสรรค์เด็กจริง ความประพฤติตัวดีมาโดยตลอดไม่ทอดทิ้งคนที่มีพระคุณเลี้ยงดูมาไม่ทำให้ใครเดือดร้อน ส่งให้กับทางปลัดอำเภอ และนายอำเภอได้พิจารณาอนุมัติ ให้ดำเนินการเพิ่มชื่อเข้าในทะเบียนบ้านได้ และดำเนินการถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนให้ ปัจจุบันเขาก็ได้รับสิทธิต่างๆได้อย่างเต็มที่เพราะเขาได้เป็นคนไทยแล้ว คุณเขียวและผู้ดูแลของเขาเฝ้ารอคอยมานานกว่า 20 ปีกว่าจะได้สิทธิในฐานะเป็นคนไทยโดยสมบูรณ์

 


"ครูพงษ์" จากเด็กด้อยโอกาส สู่ครูเด็กข้างถนน ของมูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก

 

'ธนะรัตน์ ธารากรณ์' หรือครูพงษ์ เจ้าหน้าที่โครงการครูข้างถนน ซึ่งปัจจุบันรับผิดชอบบริเวณหัวลำโพง แหล่งเร่ร่อนและที่อยู่อาศัยใหญ่ของเด็กด้อยโอกาสในกรุงเทพมหานคร

 

เล่าให้ฟังถึงอดีตที่เคยเป็นเด็กด้อยโอกาสลูกคนงานก่อสร้าง ไม่มีโอกาสได้เรียนหนังสือ อยู่อาศัยในเพิงพักคนงาน ต่อมามูลนิธิสร้างสรรค์เด็กมีโครงการรับลูกของคนงานก่อสร้างมาเลี้ยงดูเป็นรุ่นแรกของมูลนิธิ เขาจึงได้มีโอกาสศึกษาเล่าเรียน เมื่อเวลาผ่านไปก็ต้องทำหน้าที่ผู้ช่วยครู ดูแลเด็กรุ่นน้องที่เข้ามาอยู่ในมูลนิธิ และลงพื้นที่ตามครูไปยังสถานที่ต่างๆ เพื่อหาและช่วยเหลือเด็กด้อยโอกาส ทำอย่างนี้จนกระทั่งเรียนจบระดับมหาวิทยาลัย โดยมูลนิธิช่วยเหลือมาตลอด

 

เขาไปอยู่มูลนิธิ และเห็นมาตั้งแตเด็กแล้วว่ามูลนิธิทำงานลักษณะไหน เขารู้สึกว่า ต้องการจะทำอะไรตอบแทนมูลนิธิบ้าง จึงเริ่มมาเป็นครูทันที โดยไม่ต้องการไปสมัครงานที่ไหน แม้ว่าเขาสามารถทำงานที่อื่นได้

 


เรื่องราวสู่ความสำเร็จของมูลนิธิกองทุนการศึกษาเพื่อการพัฒนา "EDF"

 

คุณเตือนใจ เพ็ญสวัสดิ์

 

หนึ่งในนักเรียนทุนการศึกษาปีแรกของ มูลนิธิกองทุนการศึกษาเพื่อการพัฒนา ในจังหวัดอุดรธานี ระหว่างปี 2531-2533

 

หลังจากคุณเตือนใจ จบการศึกษา ได้เป็นครูที่โรงเรียนบ้านนามั่งในอำเภอแสงคม จังหวัดอุดรธานี

 

"ถ้าฉันไม่เคยได้รับทุนการศึกษาจากมูลนิธิกองทุนการศึกษาเพื่อการพัฒนา ฉันคงจะได้เป็นคนงานก่อสร้างหรือทำงานในโรงงาน ฉันทำงานเป็นครูเพราะมูลนิธิกองทุนการศึกษาเพื่อการพัฒนา เป็นผู้ให้ฉันมีโอกาสที่จะศึกษา เปลี่ยนแปลงจากหญิงสาวที่น่าสงสาร กลายเป็นครูในโรงเรียนบ้านนามั่ง เป็นคนที่สามารถให้การศึกษาเด็กยากจนอื่นๆ ในโรงเรียนที่ห่างไกลเพื่อให้พวกเขาสามารถหางานและอาศัยอยู่ในสถานที่ที่พวก เขาเกิด"


 คุณสุนาวรรณ บุญนาม

 

หนึ่งในนักเรียนทุนมูลนิธิกองทุนการศึกษาเพื่อการพัฒนา 3 ปี ระหว่างปี 2533-2535 จากจังหวัดขอนแก่น

 

คุณสุนาวรรณสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาโท และปัจจุบันทำงานเป็นหัวหน้าส่วนการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ที่จังหวัดกาฬสินธุ์

 

“ดิฉันมีความยินดีที่ได้กลับมาช่วยเหลือ EDF ในการให้โอกาสเด็กนักเรียนยากจนที่ยังขาดโอกาสในการศึกษาเหมือนที่ดิฉันเคยได้รับในอดีต เพราะ EDF ทำให้ดิฉันได้มีโอกาสเรียนหนังสือและรู้คุณค่าของการศึกษา ถ้าไม่ได้รับทุนการศึกษาในวันนั้น ดิฉันก็คงไม่มีโอกาสได้เรียนในระดับที่สูงขึ้น เพราะคงเรียนจบแค่ชั้นประถมศึกษาแล้วก็ดำเนินชีวิตไปตามอัตภาพ” 


เปลี่ยนชีวิตด้วยรอยยิ้ม

ด.ช.ทราน - ก่อนผ่าตัด
ด.ช.ทราน - ก่อนผ่าตัด
ด.ช.ทราน - หลังผ่าตัด
ด.ช.ทราน - หลังผ่าตัด

ด.ช ทราน ทู หลิน

 

ด.ช.ทราน ทู หลิน เป็นน้องคนสุดท้อง ในจำนวนพี่น้อง 4 คน เขาอายุเพียง 9 ขวบ แต่ก็มีประสบการณ์เกินกว่าที่คนส่วนใหญ่จะอดทนได้ในชีวิตของพวกเขา นอกเหนือจากการเป็นผู้ลี้ภัยจากประเทศพม่า เขายังเกิดมาพร้อมกับโรคปากแหว่ง การเป็นสมาชิกของกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงโปร์เขาจึงต้องอาศัยอยู่ในค่ายผู้ลี้ภัยที่เรียกว่า นูโปร์ ใกล้อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก ในประเทศไทย แม่ของเขาทำงานหนัก เป็นคนงานเก็บเกี่ยวพืชผล พ่อของเขาถูกช้างเหยียบเสียชีวิตเมื่อหกปีที่แล้ว โดยช้างวิ่งผ่านค่ายที่พักและพ่อของทรานไม่สามารถหลบออกจากทางที่ช้างวิ่งผ่านได้  ในขณะที่ทรานและคนอื่นๆในครอบครัวสามารถหลบออกมาได้อย่างปลอดภัย

 

หลังจากการที่ทรานได้รับการเรียนรู้ถึงภารกิจทางการแพทย์เกี่ยวกับโครงการผ่าตัดรอยยิ้ม โดยองค์กรแพทย์นานาชาติภาคตะวันออกที่อำเภอแม่สอดแล้ว โดยทรานต้องเดินทางเป็นเวลา6 ชั่วโมงในเตียงของรถกระบะขนาดเล็กที่มีหลังคาผ้าใบและม้านั่ง เพื่อโอกาสที่จะได้รับการผ่าตัดตกแต่งอาการปากแหว่งของเขา หลังจากได้รับการผ่าตัดเพื่อให้เขามีรอยยิ้มใหม่แล้ว ตอนนี้ทรานได้มีโอกาสเช่นเดียวกับเด็กคนอื่นๆที่จะมีเพื่อนๆ และอยู่อย่างมีสุขภาพดี มีความสุข

 

 

อ่านเรื่องราว(เพิ่มเติม) ได้ที่ http://www.operationsmile.or.th/smilestories/patients/  

 

 

 


ด็อกเตอร์เสกสัน สุขขะเสนา นักศึกษาที่ได้รับทุนคนแรกของมูลนิธิฯ มอบทุนการศึกษาให้กับเด็กชาย ณัฐวุฒิ นักเรียนทุน ลำดับที่ 5000
ด็อกเตอร์เสกสัน สุขขะเสนา นักศึกษาที่ได้รับทุนคนแรกของมูลนิธิฯ มอบทุนการศึกษาให้กับเด็กชาย ณัฐวุฒิ นักเรียนทุน ลำดับที่ 5000

ด็อกเตอร์ เสกสัน สุขขะเสนา

 


ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2556 มูลนิธิเกื้อกูลการศึกษาในประเทศไทย มีการจัดการฉลองพิเศษในการมอบทุนการศึกษาลำดับที่ 5000 

 

เด็กชายณัฐวุฒ นักเรียนที่ได้รับทุนการศึกษาลำดับที่ 5000 ได้รับมอบทุนการศึกษาจาก ด็อกเตอร์เสกสัน

สุขขะเสนา ซึ่งเป็นนักเรียนทุนการศึกษาของมูลนิธิฯ ลำดับแรก เมื่อยี่สิบที่ผ่านมา  ครั้งแรกที่มูลนิธิฯ ได้พบกับเสกสัน ในขณะนั้นเขาเพิ่งสำเร็จการศึกษาในระดับมัธยมปลาย และสามารถสอบเข้ามหาวิทยาลัยได้ แต่เนื่องจากข้อจำกัดทางด้านการเงิน เสกสันไม่สามารถชำระค่าธรรมเนียมในการศึกษาต่อได้  มูลนิธิเกื้อกูลการศึกษาในประเทศไทย ได้เริ่มสนับสนุนให้เสกสันได้เข้าศึกษาต่อจนจบในระดับมหาวิทยาลัย  ปัจจุบัน เสกสัน

อายุ 38 ปี กับดีกรีการศึกษา ด็อกเตอร์ Ph.D ในตำแหน่ง ผู้อำนวยการของสถาบันพื้นฐานการศึกษาของมหาวิทยาลัยชั้นนำ ของประเทศ

 

งานการมอบทุนการศึกษาที่จัดขึ้น เสกสันได้กล่าวว่าเขาภูมิใจที่เป็นนักเรียนคนแรกที่ได้รับมอบทุนการศึกษาจากมูลนิธิฯ และได้ช่วยเหลือในการเริ่มต้นทำบางสิ่งบางอย่างที่เป็นการให้โอกาสที่ยิ่งใหญ่ให้กับรุ่นน้องหลายต่อหลายคน รุ่นน้องที่เหมือนตัวเขาเองที่มีโอกาสเพียงน้อยนิดที่จะประสพความสำเร็จได้หากไม่ได้รับการส่งเสริมและสนับสนุน

 

เด็กชาย ณัฐวุฒิ อายุ 13 ปี ศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในจังหวัดนครสวรรค์ ได้รับการคัดเลือกในได้รับทุนการศึกษาอย่างระมัดระวังเนื่องจากไม่เพียงแต่สภาพแวดล้อมทางครอบครัวของณัฐวุฒิ แต่ยังรวมไปถึง ผลการประเมินถึงการจบการศึกษาของเขาเองด้วย  เด็กชายณัฐวุฒิ เพิ่งได้รับทุนการศึกษาจากมูลนิธิฯ เป็นปีแรก ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่าย และจะเป็นประวัติทุนการศึกษาของมูลนิธิฯ ที่จะมอบให้กับเฉพาะนักเรียนที่มีความมุ่งมั่นเพียงพอในการศึกษาต่อให้จบการศึกษา

 

ปัจจุบันมูลนิธิฯ ได้มอบทุนการศึกษาจำนวน 1400 ทุน ให้กับโรงเรียน, วิทยาลัยอาชีวศึกษา และมหาวิทยาลัย

 

 

 

 

 


สตรีอาสาปราบวัณโรค


...วัณโรคเป็นข้าศึกที่ตัดกำลังราษฏรของเรามาก ถ้าท่านมีน้ำใจจะช่วยแล้ว ขอให้ลงมือช่วยทันที...(พระราชนิพนธ์ของเจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์)


สตรีอาสาปราบวัณโรคได้สืบสานพระราชปณิธานของพระองค์ท่านในการอาสาให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยวัณโรคที่ยากจน และร่วมกันเช็ดน้ำตา ด้วยน้ำใจของอาสาสมัครที่เข้ามาดำเนินกิจกรรมสาธารณกุศลตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552 ให้กับผู้ป่วยที่ติดเชื้อที่มีฐานะยากจน ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่จังหวัดเชียงราย ตอนเหนือของประเทศไทย


กรุณาอ่านเรื่องราวของสตรีอาสาปราบวัณโรค ด้วยการดาวน์โหลดไฟล์ที่แนบมาพร้อมกันนี้




สตรีอาสาปราบวัณโรค
เช็ดน้ำตาด้วยน้ำใจ.pdf
Adobe Acrobat Document 1.5 MB