สมาคมกิฟวิ่งแบค - สนับสนุนองค์กรการกุศลในประเทศไทย                              และประเทศในภูมิภาค


เราคือใคร? สมาคมกิฟวิ่งแบคเริ่มต้นจากกลุ่มบุคคลที่มีความเชี่ยวชาญในวิชาชีพ ที่อาสาและอุทิศเวลาในการทำสิ่งดีๆ เพื่อตอบแทนแก่สังคม  กิฟวิ่งแบคได้จดทะเบียนในประเทศไทยเป็นองค์กรการกุศลที่ไม่แสวงหากำไรในรูปแบบของสมาคม หมายเลขจดทะเบียนที่ 5374/2557 เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2557 โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อสนับสนุนองค์กรการกุศลในประเทศไทยและในภูมิภาค โดยการนำเสนอข้อมูลต่างๆ รวมถึงการกำกับดูแล การบริหารการเงิน และความโปร่งใสในการดำเนินงาน ขององค์กรการกุศลและมูลนิธิในกลุ่มประเทศบนลุ่มแม่น้ำโขง ให้แก่บุคคลทั่วไปและองค์กรธุรกิจภาคเอกชนที่มีความสนใจที่จะบริจาคเงินและให้ความช่วยเหลือแก่องค์กรต่างๆ เหล่านั้น 

 

เราเริ่มต้นจากการรวมรวมข้อมูลองค์กรการกุศลที่จัดตั้งขึ้นในประเทศไทย และจะขยายการครอบคลุมไปยังองค์กรการกุศลในประเทศบนลุ่มแม่น้ำโขงในโอกาสต่อไป

 

 

เรามีเป้าหมายที่จะเป็นศูนย์กลางข้อมูลสำหรับองค์กรการกุศลต่างๆ รวมทั้งกลุ่มที่จัดตั้งขึ้นเพื่อการกุศลโดยไม่แสวงหากำไรในกลุ่มประเทศลุ่มแม่น้ำโขง ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง และไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อศาสนาใดๆ  จุดมุ่งหมายของเราเพื่อช่วยให้ท่านได้ทราบข้อมูลที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับองค์กรการกุศลต่างๆ สำหรับใช้ในการตัดสินใจให้การสนับสนุนองค์กรนั้นๆ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าข้อมูลที่รวบรวมขึ้นมานั้นจะเป็นการเพิ่มการสนับสนุนและการบริจาคให้กับองค์กรการกุศลเหล่านั้นด้วย

 

ในฐานะผู้ให้การสนับสนุนและผู้บริจาคให้กับองค์กรการกุศล ท่านอาจไม่แน่ใจว่าองค์กรการกุศลนั้นๆ ดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพและนำเงินที่ได้รับการสนับสนุนของท่านไปใช้อย่างมีประสิทธิผลหรือไม่เพียงใด เพื่อตอบข้อสงสัยดังกล่าว อาสาสมัครของเราจะเข้าเยี่ยมชมองค์กรการกุศลเหล่านั้น และทำการสัมภาษณ์ผู้บริหารขององค์กรฯ เกี่ยวกับการกำกับดูแลและการบริหารเงินบริจาคเพื่อประเมินผลการดำเนินงาน หลังจากนั้นทางสมาคมฯ จะนำเสนอแบบประเมินและรายงานการจัดอันดับขององค์การกุศลนั้นๆ ลงในเว็ปไซต์ของทางสมาคมฯ

                            

เราขอสนับสนุนองค์กรธุรกิจภาคเอกชนและบุคคลทั่วไปในการทำประโยชน์เพื่อคืนกลับไปยังสังคมและชุมชนที่อาศัยอยู่   ยังมีองค์กรการกุศลและกลุ่มของชุมชนที่จัดตั้งขึ้นโดยไม่แสวงหากำไรที่ได้ทำประโยชน์ให้กับสังคมมากมาย ซึ่งอาสาสมัครและผู้บริหารในองค์กรการกุศลเหล่านั้นได้อุทิศตนให้กับงานด้านการกุศลโดยได้รับผลตอบแทนเพียงเล็กน้อย หรืออาจไม่ได้รับผลตอบแทนที่เป็นตัวเงินแต่อย่างใด  แต่สิ่งหนึ่งที่อาสาสมัครขององค์กรการกุศลเหล่านั้นได้รับคือความสุข ความอิ่มเอิบใจที่เกิดขึ้น ซึ่งเปรียบเสมือนรางวัลที่ได้รับจากการอุทิศตนในการช่วยเหลือผู้อื่นที่มีโอกาสน้อยกว่าในสังคม เขาเหล่านั้นยังต้องการความช่วยเหลือจากพวกท่าน

 

 



ผู้ให้ย่อมมีความสุขเพิ่มขึ้น


30 กันยายน 2556

 

จากผลสำรวจเรื่อง การให้มีความสัมพันธ์กับความสุข โดย ศูนย์จิตอาสาและการกุศลแห่งชาติ มหาวิทยาลัยการบริหารสิงค์โปร์ (Singapore Management University) โดยมีผู้อำนวยการ ศาสตราจารย์ เดวิด ชานเป็นที่ปรึกษา การศึกษาความสัมพันธ์ดังกล่าวพบว่า มีความสัมพันธ์อย่างเข้มข้นระหว่างการให้และความสุขที่เกิดขึ้น ผู้ให้ ไม่ว่าจะเป็นการให้ในรูปแบบ การเป็นอาสาสมัคร หรือการบริจาค จะมีความสุขความพอใจกับชีวิตของตนเองเมื่อเปรียบเทียบกับผู้ที่ไม่เคยให้  ซึ่งเห็นได้ชัดเจนเมื่อมีการควบคุมรายได้ของกลุ่มสำรวจ  ศาสตราจารย์ ชาน ยังได้กล่าวว่า การค้นพบในสิงค์โปร์เป็นตัวยืนยันผลสำรวจที่ทำขึ้นในทุกที่ และได้อธิบายว่า การให้และการมีความสุขนั้นมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน  อีกทั้งยังก่อให้เกิดความสัมพันธ์เชิงบวกต่อผู้รับ

 

The Straits Times, p B2

TODAY, p 22

Lianhe Zaobao, p 11

Yahoo! Singapore

Source:

 

Lianhe Zaobao, The Straits Times, TODAY, Yahoo! News

 

http://www.smu.edu.sg/news/2013/09/30/charitable-people-tend-be-happier


ประเทศที่มีจิตกุศลในการให้มากที่สุดในโลก


http://www.theguardian.com/news/datablog/2010/sep/08/charitable-giving-country

 

ดัชนีการให้ของโลก (The world giving index) ได้ถูกนำออกเผยแพร่แล้ว  ลองมาดูกันว่า ใช่คนจีนที่มีใจกุศลมากกว่าคนไอริชหรือไม่?  และสถานที่แห่งใดที่ท่านมักจะได้รับความช่วยเหลือจากคนแปลกหน้า และสามารถอุทิศเวลาของท่านได้? หาคำตอบได้ที่นี่


ประเทศที่มีจิตกุศลในการให้ทั่วโลก  ดัชนีการให้ของโลก บนแผนที่ สร้างสรรค์โดย องค์กร Charities Aid Foundation.

 

 

ผลจากการศึกษาที่ครอบคลุมไปทั่วโลก ครั้งนี้ ถือเป็นการศึกษาที่มีประเทศที่ถูกศึกษามากที่สุดเท่าที่เคยมีการศึกษาในเรื่องดังกล่าว ได้ถูกเปิดเผยต่อสาธารณชนพบว่าประเทศอังกฤษ เป็นประเทศที่อยู่ในลำดับที่แปดของประเทศที่มีจิตกุศลในการให้ของโลก ในขณะที่ประเทศที่มีการเจริญเติบโตด้านเศรษฐกิจเร็วที่สุดในโลกอย่างประเทศจีน และอินเดีย อยู่ในกลุ่มของประเทศที่มีจิตกุศลในการให้น้อยมาก 

 

ดัชนีการให้ของโลก (The world giving index) เผยแพร่โดย สถาบัน Charities Aid Foundation โดยใช้วิธีการสำรวจทางสถิติของ Gallup กับกลุ่มประชากรตัวอย่างจำนวน 195,000 คน ใน 153 ประเทศ โดยวิธีตั้งคำถามให้กับกลุ่มประชากรตัวอย่างถึงโอกาสในการทำการกุศล ด้วยการบริจาคเงินให้กับองค์กรการกุศล หรือเป็นอาสาสมัครช่วยเหลือคนที่ไม่รู้จักในเดือนที่่ผ่านมาบ้างหรือไม่ และยังมีคำถามวัดช่วงความสุขในชีวิตกับกลุ่มประชากรตัวอย่างอีกด้วย

 

ผลการสำรวจพบว่า ตัวชี้วัดของ "global Big Society" ได้ชี้ให้เห็นว่า 5 ส่วนของจำนวนประชากรของโลกมีประสพการณ์ในการเป็นอาสาสมัคร และ 3 ส่วนของประชากรโลก เคยบริจาคเงินและสิ่งของให้กับองค์กรการกุศล และ ร้อยละ 45 ของประชากรโลก เป็นผู้มีจิตใจเมตตา และเคยช่วยเหลือผู้ที่ตนไม่รู้จักอีกด้วย

 

ประเทศอังกฤษถูกจัดให้อยู่ในลำดับที่แปดของโลก และอยู่ในลำดับที่สามเคียงข้างประเทศไทยในเรื่อง การบริจาคเงิน ด้วยจำนวนร้อยละ 73 ของประชากรของประเทศ มีการบริจาคเงินให้กับองค์กรการกุศล อย่างไรก็ตามประเทศที่เคยอยู่ในกลุ่มเครือจักรภพอังกฤษ อาทิเช่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และสหรัฐอเมริกา มีจิตกุศลในการให้เพิ่มขึ้น ในประเทศในแถบยุโรป พบได้ในประเทศ ไอร์แลนด์ สวิสเซอร์แลนด์ และเนเธอร์แลนด์ เท่านั้นที่มีประชากรที่มีจิตกุศลในการให้ปานกลาง

 

ประเทศที่ร่ำรวย (Rich Country) ยังคงครองลำดับประเทศที่มีจิตกุศลสูงสุด ประมาณครึ่งหนึ่งของประทศที่อยู่ใน 20 อันดับประเทศมีจิตกุศลในการให้สูงสุดเป็นประเทศที่กำลังพัฒนา อาิทิเช่น ประเทศ กีนี ประเทศกียานา และประเทศ เติร์กกามินิสถาน  ซึ่งตรงกันข้ามกับประเทศอินเดีย ที่อยู่ในลำดับที่ 134 และประเทศจีนในลำดับที่ 147 ผลสำรวจจากประชากรตัวอย่างประเทศจีน ผมว่า ประชากรตัวอย่างที่เป็นชาวจีน อยู่ในกลุ่มที่มีจิตการกุศลน้อยที่สุดในโลก พบเพียงร้อยละ 4 ที่ยินดีเป็นอาสาสมัครช่วยเหลือการกุศล

 

บทความนี้ได้รับการแก้ไข ในวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2554 จากเดิมที่ผลสำรวจจากประเทศในทวีปยุโรป พบเพียง ประเทศ ไอร์แลนด์ สวสิเซฮร์แลนด์ และเนเธอแลนด์ นั้น ได้รับการแก้ไขแล้ว  ข้อมูลที่สมบูรณ์สามารถสืบค้นจากตารางเอ็กเซลล์ที่ปรากฏข้างล่านนี้

 

Download
รายชื่อประเทศที่มีจิตกุศลในการให้
Charity giving by country.xls
Microsoft Excel Table [49.0 KB]
Download

ทีมงานได้ดำเนินการประเมินองค์กรการกุศลต่างๆ ด้วยความสมัครใจ กลุ่มทีมงานประเมินประกอบด้วยสมาชิกไม่เกิน 5 คน จะเข้าเยี่ยมชมองค์กรการกุศลต่างๆเพื่อพิจารณาการดำเนินงาน รวบรวมข้อมูลและสรุปรายงานออกมาเผยแพร่ ทีมงานอาสาสมัครของเราจะเป็นผู้แนะนำวิธีการประเมินและแก้ไขปรับปรุงรายงานการประเมิน

 

เรามีความประสงค์ที่จะได้อาสาสมัครที่ต้องการช่วยเราทำการประเมินองค์กรการกุศลต่างๆรวมทั้งการดูแลรักษาเว็บไซต์นี้ต่อไป หากคุณสนใจที่จะให้ความช่วยเหลือ สามารถส่งe-mail มาที่ givingbackassoc@gmail.com